ขั้นตอนการทำ พาสซิเวชั่น (Passivation) มีกระบวนการอย่างไร
- amatapassivation
- 7 ธ.ค. 2567
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ.
ขั้นตอนในการทำพาสซิเวชั่นนั้น มีกระบวนการอย่างไรบ้าง เรามาศึกษาไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่าา
สำหรับขั้นตอนในการทำ พาสซิเวชั่น (PASSIVATION) นั้น จริงๆ แล้ว มีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ สภาพชิ้นงานที่จะนำมาล้างโดยใช้วิธีการพาสซิเวชั่น ซึ่งบางชิ้นงาน อาจเป็นชิ้นงานที่เพิ่งผลิตขึ้นมาใหม่ ก็จะสามารถใช้วิธีการพาสซิเวชั่นโดยทั่วไปได้
แต่ในบางกรณี ที่ชิ้นงานมีคราบสกปรกที่ฝังแน่นนั้น อาจจะต้องใช้วิธีการล้างที่เน้นไปที่การขจัดคราบฝังแน่นนั้นให้ออกไปด้วย ซึ่งในกรณีนี้ เดี๋ยวเรามาเรียนรู้กันในบทความหน้านะคะ

กระบวนการในการพาสซิเวชั่น อาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัย
สำหรับขั้นตอนการพาสซิเวชั่น (Passivation) นั้น มีกระบวนการดังนี้
1.การทำความสะอาดพื้นผิว (Cleaning)
ก่อนที่จะเราจะเริ่มกระบวนการพาสซิเวชั่น (Passivation) นั้น สิ่งที่จำเป็นเลยคือ ต้องทำความสะอาดชิ้นงานจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น คราบน้ำมัน ไขมัน หรือฝุ่น โดยจะใช้การทำความสะอาดด้วยสารเคมีที่เป็นด่าง (sodium hydroxide)
การทำความสะอาดด้วยการ Cleaning ก่อนนั้น จะช่วยให้กระบวนการพาสซิเวชั่น ได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะถ้าหากตัวชิ้นงานยังคงมีสิ่งสกปรกอยู่บนผิว ประสิทภาพในการสร้างชั้นฟิล์มในกระบวนการพาสซิเวชั่นบนชิ้นงานก็จะลดลงไปด้วย
2.การพาสซิเวชั่นด้วยสารเคมี (Chemical Passivation)
หลังจากที่เราทำการ Cleaning ชิ้นงานเสร็จแล้ว ก็เข้าสู่กระบวนการพาสซิเวชั่น ที่มักใช้กรดที่มีความเข้มข้นสูง เช่น กรดไนตริก (Nitric Acid) หรือกรดซิตริก (Citric Acid) เพื่อทำปฏิกิริยากับผิวโลหะ
เคมีกรดเหล่านี้ จะช่วยทำลายสิ่งสกปรก หรือสารประกอบที่อาจปนเปื้อนบนผิวโลหะ และกระตุ้นการเกิดฟิล์มป้องกันที่ผิววัสดุ ซึ่งมักจะเป็นฟิล์มออกไซด์ เช่น ฟิล์มออกไซด์ของโครเมียม (Chromium Oxide) ที่ช่วยให้วัสดุมีความต้านทานการกัดกร่อนได้ดีขึ้น
ฟิล์มออกไซด์ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการทำพาสซิเวชั่นนั้น มีความหนาไม่มาก แต่มีคุณสมบัติในการป้องกันการกัดกร่อนที่ยอดเยี่ยมเลยก็ว่าได้
3. การล้าง (Rinsing)
หลังจากที่เราได้ทำการพาสซิเวชั่นด้วยเคมีกรดเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น เราจะต้องทำการ ล้างชิ้นงานด้วยน้ำสะอาด เพื่อกำจัดสารเคมีที่เหลืออยู่บนพื้นผิวชิ้นงาน
การล้าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะถ้าหากเราล้างสารเคมีออกไปไม่หมด สารเคมีที่ตกค้างบนผิวของชิ้นงาน อาจทำลายฟิล์มป้องกันที่เกิดขึ้นบนผิวชิ้นงานได้
ที่สำคัญที่สุด ก่อนทำการล้างสารเคมีออกจากชิ้นงาน ไม่ว่าจะขั้นตอน Cleaning หรือ Passivation นั้น เราจะต้องทำการ ปรับสภาพเคมีให้เป็นกลาง (pH 6-8) ด้วยกระดาษลิตมัส ก่อนทำการล้างทำความสะอาด เพื่อลดการส่งสารเคมีปนเปือนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาตินั้นเอง
4. การเป่าลม (Drying)
หลังจากที่เราได้ล้างชิ้นงานด้วยน้ำสะอาดเรียบร้อยแล้วนั้น ชิ้นงานบางประเภท จำเป็นที่จะต้องทำการเป่าลม เพื่อไล่ละอองน้ำออกจากชิ้นงานให้หมด ชิ้นงานที่ล้างทำความสะอาดแล้ว จะต้องทำให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันการเกิดคราบน้ำ ที่อาจจะทำให้เกิดสนิม หรือการกัดกร่อนในภายหลังได้
ในบางกรณี อาจใช้การเป่าลมที่ใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น เพื่อช่วยในการกระตุ้นการสร้างฟิล์มออกไซด์ที่ผิวของชิ้นงาน ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
5. การทดสอบและตรวจสอบ (Testing and Inspection)
หลังจากที่เสร็จสิ้นกระบวนการพาสซิเวชั่นแล้วนั้น เราจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบหรือการตรวจสอบคุณภาพของชั้นฟิล์มป้องกันที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การทดสอบความต้านทานการกัดกร่อน หรือการตรวจสอบความหนาของฟิล์มออกไซด์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
การทดสอบหรือการตรวจสอบนั้น ทางบริษัทองเรา จะมีขั้นตอนการทดสอบหรือตรวจสอบต่างๆ ในระหว่างกระบวนการ Cleaning และ พาสซิเวชั่น (Passivation) เพื่อให้คุณภาพของชิ้นงานที่ทำการพาสซิเวชั่นนั้น ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ
สรุป
สำหรับกระบวนการพาสซิเวชั่นนั้น เป็นกระบวนการสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มความทนทานให้กับวัสดุโลหะ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม ที่ต้องการวัสดุ ที่สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี เช่น การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือทางการแพทย์ หรือเครื่องมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
การทำความสะอาดและการสร้างชั้นฟิล์มป้องกันด้วยสารเคมีนั้น จะช่วยให้วัสดุ สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัยจากการเสื่อมสภาพได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
หากสนใจงานล้างชิ้นงานด้วยการพาสซิเวชั่น (Passivation) สามารถติดต่อกับทางเรา (บริษัท อมตะ พาสซิเวชั่น จำกัด) เพื่อขอรับคำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพาสซิเวชั่น ที่มีประสบการณ์มากว่า 10 ปี ได้เลยนะคะ ยินดีให้คำปรึกษาค่า :)
สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ช่องทาง Line OA : @amata.p หรือโทร 083-422-0514 ได้ตลอดเวลาเลยนะคะ ^^

Comments